วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการเล่นรูบิก

แก้ชั้น 1ทำหน้ากากบาทขาววิธีบิดให้ได้กากบาทสีขาวอาจเริ่มจากการบิดให้เอดจ์ขาวอยู่ล้อมเซ็นเตอร์เหลือง จากนั้นดูว่าคู่สีอีกด้านของเอดจ์ขาวคืออะไร แล้วบิดให้ตรงกับเซ็นเตอร์ของสีนั้นๆ เมื่อได้ตรงแล้วให้บิดลง 2 ครั้งจะพบว่าเอดจ์ขาวชิ้นนั้นประกบเซ็นเตอร์ขาวแล้ว ทำเช่นนี้จนครบทุกเอดจ์จะได้กากบาทขาวในที่สุด

บิดให้ขาวเต็มหน้าเมื่อได้กากบาทขาวแล้วให้หาคอร์เนอร์ที่มีสีขาวและอยู่ในชั้นที่ 3 (ทั้งนี้สีขาวเป็นฐานอยู่ในชั้นที่ 1) จากนั้นบิดคู่สีที่อยู่ประชิดไปด้านที่มีเซ็นเตอร์ของสีนั้นแล้วให้ด้านสีนั้นอยู่ข้างหน้า หากสีขาวอยู่ด้านขวาให้บิดด้านขวาตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง (แถวซึ่งมีสีขาว 2 ชิ้นจะขึ้นมาอยู่ด้านขวามือ) แล้วบิดชั้นที่ 3 ตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง (สีขาวชิ้นที่เหลือจะเข้ามาเติมแถวจนครบ 3 ชิ้น) จากนั้นบิดด้านขวาทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง (แถวที่มีขาวครบ 3 ชิ้นจะกลับจะไปอยู่ด้านสีขาวที่เป็นฐาน)หากสีขาวอยู่ซ้ายมือให้บิดด้านซ้ายทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง (หรือบิดด้านซ้ายไปข้างหลัง แถวซึ่งมีสีขาว 2 ชิ้นจะขึ้นมาอยู่ด้านขวามือ) จากนั้นบิดชั้นที่ 3 ทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง (สีขาวชิ้นที่เหลือจะเข้ามาเติมแถวจนครบ 3 ชิ้น) แล้วบิดด้านซ้ายตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง (แถวที่มีขาวครบ 3 ชิ้นจะกลับจะไปอยู่ด้านสีขาวที่เป็นฐาน) ทำเช่นนี้จนได้สีขาวเต็มหน้า ซึ่งจะได้ชั้นที่ 1 เต็มและเซ็นเตอร์ก็จะตรงกับสีของแต่ละหน้าด้วย

อย่างไรก็ดีบางครั้งอาจพบสีขาวที่เหลืออยู่ชั้น 1 หรืออยู่ด้านบน วิธีแก้กรณีที่สีขาวอยู่ชั้น 1 หากอยู่ด้านขวามือให้บิดด้านที่มีสีขาวทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้งแล้วบิดชั้นที่ 3 ตามเข็มนาฬิกา 2 ครั้ง จากนั้นบิดแถวสีขาวที่มาจากการบิดทวนเข็มกลับที่เดิม แล้วใช้สูตรในการบิดขาวให้เต็มได้ตามปกติจนเต็มหน้า แต่หากสีขาวในชั้นที่ 1 อยู่ด้านซ้ายมือให้บิดในลักษณะตรงข้ามคือจากตามเข็มนาฬิกาเป็นทวนเข็มนาฬิกาและจากทวนเข็มนาฬิกาเป็นตามเข็มนาฬิกาส่วนกรณีที่สีขาวอยู่ด้านบนให้ด้านสีขาวนั้นตรงกับฐานที่ยังขาดสีขาว แล้ววางให้สีขาวอยู่ทางขวามือ จากนั้นบิดด้านขวามือตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง แล้วบิดชั้นที่ 3 ทวนเข็มนาฬิกา 2 ครั้ง จากนั้นบิดด้านขวาทวนเข้ม 1 ครั้ง (เพื่อให้แถวที่มีสีขาวอื่นๆ กลับไปอยู่ที่ฐานเช่นเดิม) แล้วใช้เทคนิคบิดขาวให้เต็มหน้าได้ตามปกติแก้ชั้น 2เมื่อแก้จนได้ชั้นที่ 1 เต็มแล้วก็เริ่มแก้ชั้นที่ 2 ทั้งนี้เนื่องจากสีเหลืองถูกกำหนดให้อยู่ด้านบนดังนั้นชิ้นส่วนที่จะเติมเต็มชั้นนี้ก็คือเอดจ์ที่ไม่มีสีเหลือง อาทิ เอดจ์ที่มีคู่สีแดงอยู่ด้านข้างและสีเขียวอยู่ด้านบน ให้หมุนเอดจ์ชิ้นนั้นจนสีแดงไปตรงกับเซ็นเตอร์สีแดง จากนั้นเปลี่ยนไปพิจารณาสีเขียวโดยหมุนให้อยู่ด้านตรงข้ามกับเซ็นเตอร์สีเขียวหากสีเขียวที่อยู่ด้านบนนั้นอยู่ตรงขวามือให้เล่นด้วยมือซ้ายโดยหมุนด้านซ้ายขึ้น 1 ครั้งแล้วบิดชั้นที่ 3 ทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง จากนั้นบิดด้านซ้ายลง 1 ครั้ง แล้วใช้เทคนิคบิดสีขาวให้เต็มหน้าตามวิธีแก้ในชั้นที่ 1หากสีเขียวอยู่ทางซ้ายมือก็ให้เล่นด้วยมือขวาโดยหมุนด้านขวาขึ้น 1 ครั้งแล้วบิดชั้นที่ 3 ตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง จากนั้นบิดด้านขวาลง 1 ครั้ง แล้วใช้เทคนิคบิดสีขาวให้เต็มหน้าตามวิธีแก้ในชั้นที่ 1 เช่นเดียว ทำเช่นนี้จนได้ชั้นที่ 2 เต็ม
แก้ชั้น 3เมื่อได้ชั้นที่ 2 เต็มแล้วต่อไปคือหน้าสีเหลืองให้เต็ม โดยจะเริ่มจากทำให้ได้กากบาทเหลืองเพื่อนำไปสู่ "สูตรปลา" ที่จะพลิกให้ได้เหลืองเต็มหน้า จากนั้นเป็นเทคนิคทำชั้น 3 ให้เต็มหากากบาทเหลืองเริ่มจากพิจารณาว่าเอดจ์และเซ็นเตอร์ของด้านบนสุดที่เรียงกันเป็นรูปกากบาทนั้น มีสีเหลืองเรียงเป็นรูปแบบต่อไปนี้หรือไม่ 1.เส้นตรงสีเหลือง 2.รูป L คว่ำ (มุมขวาล่าง) และ 3.เซ็นเตอร์เพียงชิ้นเดียว สำหรับวิธีบิดสีเหลืองที่เรียงเป็นเส้นตรงให้ได้รูปกากบาทนั้นเริ่มจากวางให้เส้นสีเหลืองอยู่ในแนวนอน จากนั้นบิดด้านหน้าตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านขวามือขึ้น 1 ครั้ง บิดชั้นบนตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านขวามือลง 1 ครั้ง บิดด้านบนทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง แล้วบิดด้านหน้าทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง จะได้รูปกากบาทเหลืองตามต้องการ
วิธีบิดรูป L คว่ำ สำหรับรูปแบบการบิดก็เช่นเดียวกับการเส้นตรงสีเหลืองแต่บิดแถวด้านหน้าเพิ่มเป็น 2 แถว เริ่มจากบิดหน้าด้านตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านขวามือขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านขวามือลง 1 ครั้ง บิดด้านบนทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง แล้วด้านหน้าทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง จะได้รูปกากบาทเหลืองตามต้องการ
"สูตรปลา" ทำเหลืองให้เต็มหน้าเมื่อได้รูปปลาให้หันหัวปลาลงมุมขวาหรือซ้ายแล้วหันด้านที่มีสีเหลืองไว้ด้านหน้า หากสีเหลืองอยู่ด้านขวาให้เล่นด้วยมือขวา โดยบิดด้านขวามือขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดขวามือลง 1 ครั้ง บิดด้านบนตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดขวามือขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนตามเข็มนาฬิกา 2 ครั้ง บิดขวามือลง 1 ครั้ง จะได้สีเหลืองเต็มหน้า
ส่วนกรณีสีเหลืองอยู่ด้านซ้ายให้บิดด้านซ้ายขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดซ้ายมือลง 1 ครั้ง บิดด้านบนทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดซ้ายมือขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนตามเข็มนาฬิกา 2 ครั้ง บิดซ้ายมือลง 1 ครั้ง จะได้สีเหลืองเต็มหน้า

บิดให้เต็มลูกเมื่อได้สีเหลืองเต็มหน้าแล้วแต่ชั้นที่ 3 ยังไม่สมบูรณ์ ให้หาด้านที่มีคู่สีโดยตรงกลางเป็นสีใดก็ได้ จากนั้นวางด้านที่มีคู่สีให้อยู่ตำแหน่งขวามือแล้วผลิกด้านเหลืองให้ไปอยู่ข้างหลังซึ่งสีขาวจะผลิกขึ้นมาอยู่ด้านหน้า บิดขวามือตามเข็มนาฬิกา 2 ครั้ง บิดด้านล่างไปทางขวามือ 2 ครั้ง บิดขวามือขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านขวามือลง 1 ครั้ง บิดด้านล่างไปทางขวามืออีก 2 ครั้ง บิดด้านขวามือขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านขวามือขึ้น 1 ครั้ง จะได้ด้านที่เต็ม 1 หน้าและมี 3 สีตรงกลางที่วางสลับกันอยู่ ซึ่งพร้อมสู่การบิดขั้นตอนสุดท้ายบิดให้เต็มลูกเมื่อได้สีเหลืองเต็มหน้าแล้วแต่ชั้นที่ 3 ยังไม่สมบูรณ์ ให้หาด้านที่มีคู่สีโดยตรงกลางเป็นสีใดก็ได้ จากนั้นวางด้านที่มีคู่สีให้อยู่ตำแหน่งขวามือแล้วผลิกด้านเหลืองให้ไปอยู่ข้างหลังซึ่งสีขาวจะผลิกขึ้นมาอยู่ด้านหน้า บิดขวามือตามเข็มนาฬิกา 2 ครั้ง บิดด้านล่างไปทางขวามือ 2 ครั้ง บิดขวามือขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านขวามือลง 1 ครั้ง บิดด้านล่างไปทางขวามืออีก 2 ครั้ง บิดด้านขวามือขึ้น 1 ครั้ง บิดด้านบนทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านขวามือขึ้น 1 ครั้ง จะได้ด้านที่เต็ม 1 หน้าและมี 3 สีตรงกลางที่วางสลับกันอยู่ ซึ่งพร้อมสู่การบิดขั้นตอนสุดท้าย

กรณีที่หาด้านที่มีคู่สีไม่ได้ก็ให้บิดลักษณะเดียวกันนี้ 2 รอบ แต่ถ้าทุกหน้ามีคู่สีแต่ไม่มีด้านใดเต็มเลย ให้บิดด้านหน้าซึ่งจะเป็นสีใดก็ได้ตามเข็มนาฬิกา 2 ครั้ง บิดด้านบนตามหรือทวนเข็มนาฬิกาก็ได้ 1 ครั้ง บิดด้านบนแถวซ้ายลง 1 ครั้ง บิดด้านบนแถวขวาลง 1 ครั้ง บิดด้านหน้าไปทางขวามือ 2 ครั้ง แล้วบิดแถวด้านซ้ายและแถวด้านขวามือกลับขึ้นไปด้านละ 1 ครั้ง จากนั้นบิดด้านบนตามหรือทวนเข็มนาฬิกา (ตามการบิดด้านบนครั้งแรก) 1 ครั้ง แล้วบิดด้านหน้า 2 ครั้ง จะเจอด้านเต็ม 1 หน้าและมี 3 สีตรงกลางที่วางสลับกันอยู่ ซึ่งพร้อมสู่การบิดขั้นตอนสุดท้ายเช่นเดียวกันขั้นสุดท้ายนี้วางให้สีขาวเป็นฐานและสีเหลืองอยู่ด้านบนเช่นเดิม และวางด้านที่เต็มแล้วไว้ข้างหลัง กรณี 3 สีวางสลับตำแหน่งในลักษณะตามเข็มนาฬิกา บิดด้านหน้าไปทางขวา 2 ครั้ง บิดด้านบนตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านบนแถวซ้ายลง 1 ครั้ง บิดด้านบนแถวขวาลง 1 ครั้ง บิดด้านหน้าไปทางขวามือ 2 ครั้ง บิดแถวด้านซ้ายและแถวด้านขวามือกลับขึ้นไปด้านละ 1 ครั้ง หมุนด้านบนตามเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านหน้าไปทางขวามืออีก 2 ครั้ง ก็จะได้รูบิกที่เสร็จสมบูรณ์กรณี 3 สีวางสลับตำแหน่งในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา บิดด้านหน้าไปทางขวา 2 ครั้ง บิดด้านบนทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านบนแถวซ้ายลง 1 ครั้ง บิดด้านบนแถวขวาลง 1 ครั้ง บิดด้านหน้าไปทางขวามือ 2 ครั้ง บิดแถวด้านซ้ายและแถวด้านขวามือกลับขึ้นไปด้านละ 1 ครั้ง หมุนด้านบนทวนเข็มนาฬิกา 1 ครั้ง บิดด้านหน้าไปทางขวามืออีก 2 ครั้ง ก็จะได้รูบิกที่เสร็จสมบูรณ์















วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีการทำแมโครในMicrosoft word

วิธีการทำแมโครในไมโรซอฟเวิร์ด

1.บนเมนู เครื่องมือ ในโปรแกรม Word ให้ชี้เมาส์ไปที่ แมโคร และคลิก บันทึกแมโครใหม่ เพื่อแสดงกล่องโต้ตอบ บันทึกแมโคร

    กล่องโต้ตอบบันทึกแมโครใน Word

2. ในช่อง ชื่อของแมโคร ให้พิมพ์คำว่า InsertLegalText

3. ในช่อง เก็บแมโครไว้ที่ ให้คลิก เอกสารทั้งหมด (Normal.dot)

4. คลิก ตกลง แถบเครื่องมือ การบันทึก จะปรากฏ

แถบเครื่องมือการบันทึกแมโครใน Word

5. พิมพ์ข้อความต่อไปนี้: Copyright XYZ Corporation. You may not modify, copy, or distribute any information contained in this document without our prior permission.

6. บนแถบเครื่องมือ การบันทึก ให้คลิก หยุดการบันทึก

7. เปิดเอกสาร Word ใหม่อีกเอกสารหนึ่ง และบนเมนู เครื่องมือ ให้ชี้เมาส์ไปที่คำว่า แมโคร และคลิก แมโคร เพื่อแสดงกล่องโต้ตอบ แมโคร

กล่องโต้ตอบแมโครใน Word

8. ในรายการ แมโครใน ให้คลิก Normal.dot (แม่แบบส่วนรวม)

9. ในรายการ ชื่อแมโคร ให้คลิก InsertLegalTextและคลิก เรียกใช้ ข้อความที่คุณพิมพ์ในขั้นตอนที่ 5 จะปรากฏในเอกสารใหม่

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งเบื้องต้นในภาษาC

คำสั่ง: scanf คำอธิบาย: เป็นคำสั่งที่ใช้ในการรับค่าตัวแปรเข้าไปเก็บไว้ในตัวเเปร
รูปแบบ:

คำสั่ง: printf คำสั่ง:เป็นคำสั่งในการแสดงค่าออกมาทางจอภาพ
รูปแบบ:

คำสั่ง: for คำอธิบาย: เป็นคำสั่งวนซ้ำและเพิ่มค่าขึ้นทีละ1จนกว่าเงื่อนไขไม่เป็นจริงถึงจะหลุดลูปและแสดงสิ่งที่อยู่ในปีกกา

รูปแบบ: คำสั่ง: ifคำอธิบาย: ใช้สำหรับแสดงเงื่อนไขถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำสิ่งที่อยู่ในปีกกา


รูปแบบ:



คำสั่ง: else คำอธิบาย: ใช้ในกรณีที่มีเงื่อนไข2ข้อขึ้นไปถ้าเงื่อนไขแรกไม่เป็นจริงจะตรวจสอบเงื่อนไขต่อไปถ้าเป็นจริงแสดงสิ่งที่อยู่ในปีกกา
รูปแบบ:






วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติภาษา C

ในปี ค.ศ. 1972 Dennis Ritchie เห็นผู้คิดค้นสร้างภาษาซีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพัฒนามาจากภาษา B และภาษา BCPL แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการใช้งานภาษาซีอย่างกว้างขวางนัก จนกระทั้งต่อมาในปี ค.ศ. 1972 Brain Kernighan ได้ร่วมกับ Dennis Ritchie พั๖นามาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า K&R (Kernighan&Ritchie) และเขียนหนังสือชื่อ "The C Programming Language" ออกมาเป็นเล่มแรก ทรให้เริ่มมีผู้สนใจภาษาซีเพิ่มมากขึ้น และด้วยความยืดหยุ่นของภาษาซีที่สามารถประบใช้งานกับคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ได้ ทำหใภษาซีได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนแพร่หลายไปทั่วโลกจนมีบริษัทต่างๆ สร้างและผลิตภาษาซีออมมาเป็นจำนวนมาก เกิดเป็นภาษาซีในหลากหลายรูปแบบ เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับการสร้างภาษาซี ดังนั้นในปี ค.ศ. 1988 Ritchie และ Kernighan จึงได้ร่วมกับANSI (American National Standards Institute)สร้างมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดมาตรฐานในการสร้างภาษาซีรุ่นต่อๆ ไปในปัจจุบันภาษาซียังคงได้รับความนิยมและใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นภาษาระดับกลาง (middle-level language) ที่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (structurde programming) และเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นมาก คือ ใช้งานกับเครื่องต่างๆ ได้ และที่สำคัญในปัจจุบันภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ เช่น c++,perl,Java,C# ฯลฯ ยังใช้หลักการของภาษาซีเป็นพื้นฐานด้วย กล่าวคือ หากมีพื้นฐานของภาษาซีมาก่อน ก็จะสามารถศึกษาภาษารุ่นใหม่เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ: นาย กฤชกนก ทองดี
ที่อยู่: 165/2 หมู่9 ต.หนองโพ
อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
สถานศึกษา: วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
สาขา: คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
อายุ: 16ปี
E-mail: kitkarnokthongde@gmail.com